เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
5111207444 ค.บ.511(5)/5 คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

บันทึกครั้งที่ 16

วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ 2554
อาจารย์สอนเกี่ยวกับขอบข่ายของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งมีการยกตัวอย่าง สาธิต และการสนทนา อภิปรายในชั้นเรียน โดยมีการยกมือแสดงความคิดเห็นด้วย ทำให้ได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ทำให้เกิดการเรียนรู้มากขึ้น และได้รับประสบการณ์ตรงเพื่อเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้ได้อีกด้วย
*อาจารย์นัดหมายการสอบ โดยให้นักศึกษาสอบการจัดประสบการณ์ ในวันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 11.00 น. โดยมีการเชื่อมโยงขอบข่ายคณิตศาสตร์ และมีการใช้สื่ออุปกรณ์

^_^

บันทึกครั้งที่ 15

วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ 2554


คณิตศาสตร์พาเพลิน
วิเคราะห์สื่อ (เกมการศึกษา) ครอบคลุมขอบข่ายของคณิตศาสตร์อย่างไร
- เกมจับคู่ภาพส่วนที่หายไป : รูปร่าง
- เกมจับคู่รอยเท้า : รูปร่าง
- เกมต่อจิ๊กซอร์รูปผีเสื้อ : เรียงลำดับ นับจำนวน
- เกมต่อจิ๊กซอร์รูปคนข้ามถนน : เรียงลำดับ นับจำนวน
- เกมต่อจิ๊กซอร์รูปฝนตก : เรียงลำดับ นับจำนวน
- เกมต่อภาพจำนวนที่เท่ากัน : การนับจำนวน
- เกมพื้นฐานการบวก : การนับจำนวน
- เกมจับคู่ภาพแบบอุปมาอุปไมย : การเรียงลำดับเหตุการณ์
- เกมจัดหมวดหมู่ภาพ ด้านหน้า ด้านข้าง ด้านหลัง : การจัดประเภท
- เกมจับคู่ภาพซ้อน : การจับคู่
- เกมจับคู่ภาพที่แทนด้วยสัญลักษณ์ : รูปร่างเรขาคณิต

^_^

บันทึกครั้งที่ 14

วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ 2554
สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์
สาระที่ 1 จำนวน และการดำเนินการ
- จำนวนนับใช้บอกจำนวนของสิ่งต่างๆ
- จำนวนนับ 1 2 3 4 5... เป็นจำนวนที่นับเพิ่มขึ้นทีละหนึ่งตามลำดับ ซึ่งศูนย์ไม่ใช่จำนวนนับ
- ตัวเลขเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแสดงจำนวน
- สัญลักษณ์พื้นฐานที่ใช้เขียนแสดงจำนวน เรียกว่า เลขโดด ในระบบฐานสิบมี 10 ตัว ประกอบด้วย

ตัวเลขฮินดูอารบิก ได้แก่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10
ตัวเลขไทย ได้แก่ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐
สาระที่ 2 การวัด

- เป็นการวัดความยาวของสิ่งต่างๆ การหาความยาวตามแนวนอน การวัดความสูงเป็นการหาความยาวแนวตั้ง การวัดความยาว ความสูงของสิ่งต่างๆ อาจใช้เครื่องมือวัดที่มีหน่วยไม่ใช่มาตรฐาน
- ยาวกว่า สั้นกว่า สูงกว่า เตี้ยกว่า ต่ำกว่า ยาวกว่า สูงเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบความยาว ความสูงของสิ่งต่างๆ
- การเรียงลำดับความยาว/ความสูง การเรียงลำดับน้ำหนักของสิ่งต่างๆ อาจเรียงจากน้อยไปหามาก หรือมากไปหาน้อย
- การตวง อาจใช้เครื่องมือตวงที่มีหน่วย
สาระที่ 3 เรขาคณิต

การจำแนกทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกรวย ทรงกระบอก และรูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม ใช้วิธีพิจารณารูปร่างและขอบของรูป ส่วนข้างบน ข้างล่าง ข้างใน ข้างนอก ข้างหลัง ระหว่าง ข้างซ้าย ข้างขวา ใกล้ ไกล เป็นคำที่ใช้บอกตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทางของสิ่งต่างๆ
สาระที่ 4 พีชคณิต
แบบรูปที่เป็นความสัมพันธ์ที่แสดงลักษณะสำคัญร่วมของชุด ของจำนวนรูปเรขาคณิต หรือสิ่งต่างๆ
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูล และความน่าจะเป็น
- การเก็บรวบรวมข้อมูลอาจใช้วิธีสังเกตหรือสอบถามก็ได้
- แผนภูมิรูปภาพเป็นการนำเสนอข้อมูลอย่างง่าย โดยใช้รูปภาพแสดงจำนวนของสิ่งต่างๆ อาจวางรูปตามแนวนอนหรือแนวตั้งก็ได้ เช่น กราฟ

การสอน Project Approach มีขั้นตอน 3 ระยะ
- เริ่มต้น
- พัฒนา
- สรุป

^_^