เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
5111207444 ค.บ.511(5)/5 คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

บันทึกครั้งที่ 17

วันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2554
สอบการจัดประสบการณ์ หน่วยเรื่องของใช้ (กระเป๋าเงิน)
ขอบข่ายของคณิตศาสตร์
- การนับจำนวน
- การจัดประเภท
ขั้นตอน
1.ซักถามเด็กเกี่ยวกับสิ่งของที่เด็กคิดว่าสามารถนำมาใส่เหรียญใส่เงินได้
2.นับจำนวนกระเป๋าทั้งหมดมี 5 ใบ
3.จัดประเภทกระเป๋าที่มีสีแดง และไม่มีสีแดง แล้วนับจำนวน กระเป๋าที่มีสีแดง 3 ใบ และไม่มีสีแดง 2 ใบ
สิ่งที่ต้องปรับปรุง
- ก่อนการจัดประเภทไม่ต้องนำกระเป๋ามารวมกันอีก
- ให้อาสาสมัครออกมาจัดประเภทกระเป๋า โดยให้เด็กออกมาหยิบครั้งละหนึ่งคน คนละ 1 ใบ แล้วให้คนต่อไปออกมาหยิบต่อ
- ควรมีป้ายสัญลักษณ์ตัวเลข

^_^

บันทึกครั้งที่ 16

วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ 2554
อาจารย์สอนเกี่ยวกับขอบข่ายของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งมีการยกตัวอย่าง สาธิต และการสนทนา อภิปรายในชั้นเรียน โดยมีการยกมือแสดงความคิดเห็นด้วย ทำให้ได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ทำให้เกิดการเรียนรู้มากขึ้น และได้รับประสบการณ์ตรงเพื่อเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้ได้อีกด้วย
*อาจารย์นัดหมายการสอบ โดยให้นักศึกษาสอบการจัดประสบการณ์ ในวันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 11.00 น. โดยมีการเชื่อมโยงขอบข่ายคณิตศาสตร์ และมีการใช้สื่ออุปกรณ์

^_^

บันทึกครั้งที่ 15

วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ 2554


คณิตศาสตร์พาเพลิน
วิเคราะห์สื่อ (เกมการศึกษา) ครอบคลุมขอบข่ายของคณิตศาสตร์อย่างไร
- เกมจับคู่ภาพส่วนที่หายไป : รูปร่าง
- เกมจับคู่รอยเท้า : รูปร่าง
- เกมต่อจิ๊กซอร์รูปผีเสื้อ : เรียงลำดับ นับจำนวน
- เกมต่อจิ๊กซอร์รูปคนข้ามถนน : เรียงลำดับ นับจำนวน
- เกมต่อจิ๊กซอร์รูปฝนตก : เรียงลำดับ นับจำนวน
- เกมต่อภาพจำนวนที่เท่ากัน : การนับจำนวน
- เกมพื้นฐานการบวก : การนับจำนวน
- เกมจับคู่ภาพแบบอุปมาอุปไมย : การเรียงลำดับเหตุการณ์
- เกมจัดหมวดหมู่ภาพ ด้านหน้า ด้านข้าง ด้านหลัง : การจัดประเภท
- เกมจับคู่ภาพซ้อน : การจับคู่
- เกมจับคู่ภาพที่แทนด้วยสัญลักษณ์ : รูปร่างเรขาคณิต

^_^

บันทึกครั้งที่ 14

วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ 2554
สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์
สาระที่ 1 จำนวน และการดำเนินการ
- จำนวนนับใช้บอกจำนวนของสิ่งต่างๆ
- จำนวนนับ 1 2 3 4 5... เป็นจำนวนที่นับเพิ่มขึ้นทีละหนึ่งตามลำดับ ซึ่งศูนย์ไม่ใช่จำนวนนับ
- ตัวเลขเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแสดงจำนวน
- สัญลักษณ์พื้นฐานที่ใช้เขียนแสดงจำนวน เรียกว่า เลขโดด ในระบบฐานสิบมี 10 ตัว ประกอบด้วย

ตัวเลขฮินดูอารบิก ได้แก่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10
ตัวเลขไทย ได้แก่ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐
สาระที่ 2 การวัด

- เป็นการวัดความยาวของสิ่งต่างๆ การหาความยาวตามแนวนอน การวัดความสูงเป็นการหาความยาวแนวตั้ง การวัดความยาว ความสูงของสิ่งต่างๆ อาจใช้เครื่องมือวัดที่มีหน่วยไม่ใช่มาตรฐาน
- ยาวกว่า สั้นกว่า สูงกว่า เตี้ยกว่า ต่ำกว่า ยาวกว่า สูงเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบความยาว ความสูงของสิ่งต่างๆ
- การเรียงลำดับความยาว/ความสูง การเรียงลำดับน้ำหนักของสิ่งต่างๆ อาจเรียงจากน้อยไปหามาก หรือมากไปหาน้อย
- การตวง อาจใช้เครื่องมือตวงที่มีหน่วย
สาระที่ 3 เรขาคณิต

การจำแนกทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกรวย ทรงกระบอก และรูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม ใช้วิธีพิจารณารูปร่างและขอบของรูป ส่วนข้างบน ข้างล่าง ข้างใน ข้างนอก ข้างหลัง ระหว่าง ข้างซ้าย ข้างขวา ใกล้ ไกล เป็นคำที่ใช้บอกตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทางของสิ่งต่างๆ
สาระที่ 4 พีชคณิต
แบบรูปที่เป็นความสัมพันธ์ที่แสดงลักษณะสำคัญร่วมของชุด ของจำนวนรูปเรขาคณิต หรือสิ่งต่างๆ
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูล และความน่าจะเป็น
- การเก็บรวบรวมข้อมูลอาจใช้วิธีสังเกตหรือสอบถามก็ได้
- แผนภูมิรูปภาพเป็นการนำเสนอข้อมูลอย่างง่าย โดยใช้รูปภาพแสดงจำนวนของสิ่งต่างๆ อาจวางรูปตามแนวนอนหรือแนวตั้งก็ได้ เช่น กราฟ

การสอน Project Approach มีขั้นตอน 3 ระยะ
- เริ่มต้น
- พัฒนา
- สรุป

^_^

บันทึกครั้งที่ 13

วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม 2554
แบ่งกลุ่ม 6 กลุ่ม
1.คิดหน่วยการเรียนรู้ แล้วทำ Mind Map (หน่วยผัก)

2.นำขอบข่ายของคณิตศาสตร์ไปใช้ในกิจกรรม

3.คิดกิจกรรมการสอนเป็น 4 วัน แล้วเขียนแผนการจัดประสบการณ์
- วันแรก เกี่ยวกับลักษณะ
- วันที่สอง ส่วนประกอบ
- วันที่สาม ประโยชน์,โทษ
- วันที่สี่ การทำคุ๊กกิ้ง
^_^

บันทึกครั้งที่ 12

วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม 2554
คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์
เช่น ตัวเลข ขนาด รูปร่าง ตำแหน่ง ค่าของเงิน อุณหภูมิ
หลักการสอนคณิตศาสตร์
- เข้าใจพัฒนาการเด็ก
- เข้าใจธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็ก

หน่วยต้นไม้

^_^

บันทึกครั้งที่ 11

วันเสาร์ที่ 15 มกราคม 2554
อาจารย์นำตัวอย่างบทเพลง คำคล้องจองต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์มาให้ศึกษาร่วมกัน โดยมีการสนทนา แสดงความคิดเห็นเพื่อเชื่อมโยงหลักการสอนคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย


เพลงสวัสดียามเช้า
ตื่นเช้าแปรงฟันล้างหน้า อาบน้ำแล้วมาแต่งตัว กินอาหารของดีมีทั่ว หนูเตรียวตัวจะไปโรงเรียน สวัสดีคุณแม่คุณพ่อ ไม่รีรอไปโรงเรียน หลั่นล้า หลั่นลา หลั่นหล่า หลั่น ลันลา หลั่นลา หลั่นล้า
เพลงสวัสดีคุณครู
สวัสดีคุณครูที่รัก หนูจะตั้งใจอ่านเขียน ยามเช้าเรามาโรงเรียนๆ หนูจะพากเพียรขยันเรียนเอย
เพลงหนึ่งปีมีสิบสองเดือน
หนึ่งปีนั้นมีสิบสองเดือน อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวัน อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์
เพลงเข้าแถว
เข้าแถว เข้าแถว อย่าล้ำแนวยืนเรียงกัน อย่ามัวแชเชือนเดินตามเพื่อนให้ทัน ระวังเดินชนกันเข้าแถวพลันว่องไว
เพลงจัดแถว
สองมือเราชูตรง แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า ต่อมาย้ายไปข้างหน้า แล้วเอาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง
เพลงซ้าย-ขวา
ยืนให้ตัวตรง ก้มหัวลงตบมือแผละ แขนซ้ายอยู่ไหน หันตัวไปทางนั้นแหละ

^_^